วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

<a href="http://glitter.mthai.com/" target="_blank"><img src="http://glitter.mthai.com/images/glitter_images/31/1095.gif" border="0" alt="รูปสวย glitter emoticon comment glitter.mthai.com" title="รูปสวย glitter emoticon comment glitter.mthai.com"></a><br />

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประเภทของนาฏศิลป์ไทย

1.รำ คือการแสดงที่มุ่งเน้นถึงศิลปะท่วงท่า ดนตรี ไม่มีการแสดงเป็นเรื่องราว รำบางชุดเป็นการชมความงาม บางชุดตัดตอนมาจากวรรณคดี รำมีสองประเภท
 - รำเดี่ยว เป็นการแสดงที่มุ่งอวดศิลปะทางนาฏศิลป์อย่างแท้จริง ผู้รำจะต้องมีฝีมือเยี่ยม เช่น รำฉุยฉายเบญจกาย ฉุยฉายวันทอง
 - รำคู่ การแสดงชุดนี้ไม่จำเป็นต้องพร้อมเพรียงกันแต่อาจมีท่าทีเหมือนกันก็ได้ เป็นการรำที่ใช้ลีลาที่แตกต่างกันระหว่างผู้แสดงสองคนเช่นตัวพระกับตัวนาง
2.ระบำ คือการแสดงที่มีความหมายในตัวใช้ผู้แสดงสองคนขึ้นไป สื่อการแสดงผ่านทางบทร้องเพลง การแต่งกาย ที่มาจากแรงบันดาลใจ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
 - ระบำมาตรฐาน เป็นการรำที่บรมครูทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นไว้ทั้งเรื่อง เพลง บทร้อง การแต่งกาย ท่ารำ ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ระบำมาตรฐานมี 6 ชุดคือ ระบำสี่บท ระบำย่องหงิดหรืออยู่หงิด ระบำพรมมาตร ระบำดางดึงส์ ระบำกฤษดา ระบำเทพบันเทิง
 - ระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เป็นระบำที่บรมครูหรือผู้รู้ทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นและปรับปรุงขึ้นมาใหม่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาส เช่นระบำชุมนุมเผ่าไทย ระบำไกรลาสสำเริง ระบำไก่ ระบำสุโขทัยเป็นต้น ฟ้อน เซิ้ง ก็จัดว่าเป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่
3. ละคร คือการแสดงเรื่องราวโดยมีตัวละคร เรื่องมีผูกเหตุผูกปม ละครประกอบไปด้วยศิลปะหลายแขนง เช่นการรำ การร้อง การดนตรี แบ่งได้เป็นสองประเภทคือ
 - ละครแบบดั้งเดิม มีสามประเภทคือ โนห์ราชาตรี ละครนอก ละครใน
 - ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ มีหกประเภท ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง ละครเสภา ละครพูด ละครร้อง ละครสังคีต
4. มหรสพ คือการแสดงรื่นเริงที่ใช้ในงานพิธีต่างๆ มีรูปแบบและวิธีการแสดงที่เป็นแบบแผน เช่น การแสดงโขน หนังใหญ่เป็นต้น